
อ่านรายละเอียด : Click Link
เป้าประสงค์ สร้างนักกฎหมายที่มีคุณลักษณะ GREATS ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ ส่งเสริมให้คิดเป็นและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลและนำไปใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและยั่งยืน
เป้าประสงค์ ผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการและการพัฒนาสังคม
เป้าประสงค์ พัฒนาการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ได้รับความรู้ ทางกฎหมายที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการอย่างเหมาะสม
เป้าประสงค์ มีระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนและการบริหารงานงานบุคคลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และบุคลากรสามารถทำงานเกิดผลสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 4 ปี นักศึกษาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาอย่างมากไม่เกิน 7 ปีการศึกษา และใช้เวลาศึกษาอย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ หลักสูตรนี้จัดการศึกษาเป็นภาษาไทย นักศึกษาต้องศึกษารายวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต (วิชาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ) วิชาเฉพาะ 93 หน่วย (วิชาแกน (วิชาบังคับทางกฎหมาย) 75 วิชาเฉพาะด้าน (วิชาเลือกทางกฎหมาย) 18 หน่วยกิต) วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะของหลักสูตร แบ่งเป็น 8 กลุ่มวิชากลุ่มวิชาหลักทั่วไปแห่งกฎหมาย กลุ่มวิชากฎหมายแพ่ง กลุ่มวิชากฎหมายอาญา กลุ่มวิชากฎหมายพาณิชย์ กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน กลุ่มวิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ กลุ่มวิชากฎหมายระหว่างประเทศ และกลุ่มวิชากฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม/กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งในเนื้อหารายวิชามุ่งให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานต่อกฎหมายและนิติวิธีเบื้องต้น มีความรู้ความเข้าใจต่อเนื้อหาของกฎหมายพื้นฐานในสาขากฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ นิติวิธีที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจความแตกต่างของลักษณะเฉพาะและนิติวิธีเฉพาะของแต่ละสาขากฎหมายโดยสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบกฎหมายเดียวกันได้ สามารถพิจารณากฎหมายจากมุมมองอื่น ๆ นอกจากบนพื้นฐานของตัวบทกฎหมายหรือเอกสารทางกฎหมาย และมีทักษะพื้นฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ หลักสูตรยังมีสาขาความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้าน 6 สาขา ดังนี้ สาขากฎหมายแพ่ง สาขากฎหมายอาญา สาขากฎหมายพาณิชย์ สาขากฎหมายมหาชน สาขากฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษาเลือกศึกษาและมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายเฉพาะด้านนั้น ๆ
คณะนิติศาสตร์รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ โดยเปิดรับสมัคร 3 รอบดังต่อไปนี้
นอกจากนี้คณะนิติศาสตร์ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการรับนักศึกษาจีนผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยเปิดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในช่วงแรกให้แก่ผู้ที่สนใจซึ่งต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นมาแล้ว (หรือที่เรียกว่า “ภาคบัณฑิต”) ก่อนที่จะจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาหรือศึกษาอยู่ในภาคเหนือของประเทศ การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีมาตรฐานภายใต้หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่ท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต การถ่ายทอดความรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายในสาขาต่าง ๆ ทั้งที่ประจำอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีการบริหารจัดการภายใต้หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุงใหม่) พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สร้างความโดดเด่นให้แก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยกำหนดให้มี “สาขากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Law and Sustainable Development)” ซึ่งเป็นสาขากฎหมายใหม่และเปิดการเรียนการสอนเฉพาะที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เท่านั้น
ในสาขากฎหมายใหม่นี้ประกอบไปด้วยรายวิชาต่าง ๆ ทางด้านกฎหมายเกือบ 20 วิชา โดยมุ่งหวังที่จะสร้างนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น มุ่งสร้างนักกฎหมายที่ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนรุ่นหลัง ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่จำกัดอย่างเห็นและตระหนักถึงคุณค่า การให้ความสำคัญแก่การรักษาสภาพเศรษฐกิจที่ดี ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายเศรษฐกิจของประเทศอื่น และการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์โดยส่วนใหญ่ของสังคม อีกทั้งรักษาไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการอยู่ร่วมกันบนโลกอย่างสันติสุขภายใต้การให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN)
โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นหลักสูตรเดียวกันกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ ศูนย์รังสิต อันประกอบด้วยการศึกษารายวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 146 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี
คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางรับนักศึกษาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาประมาณปีละ 200 คนโดย โดยเปิดรับสมัคร 2 รอบดังต่อไปนี้
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมีความมุ่งหมายจะผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้กฎหมายทั้งในภาคทฤษฎีและในภาคปฏิบัติ ให้สามารถที่จะออกไปประกอบวิชาชีพทางกฎหมายแขนงต่าง ๆ ได้ โดยฝึกฝนให้นักศึกษาสามารถใช้วิชากฎหมายให้ถูกต้องแก่กรณี รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจในตัวบทกฎหมาย ทั้งในการตีความและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ด้วยความมุ่งหมายดังกล่าวมาแล้ว คณะนิติศาสตร์ได้วางหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และความต้องการของสถาบันต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งต้องอาศัยนักกฎหมาย เช่น ตุลาการ อัยการ ทนายความ พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ นิติกร ผู้สอนในสถานศึกษา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะรวมทั้งงานของรัฐวิสาหกิจและเอกชนด้วย โดยบัณฑิตจะเป็นผู้มีความรู้ทั้งในกฎหมายพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็น และจะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในทางลึกหรือเฉพาะด้านในกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งมากขึ้น ควบคู่ไปกับการมีความสามารถและทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับวิชาชีพกฎหมายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นอกจากผลิตนักกฎหมายให้มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายแล้ว นักกฎหมายยังจะต้องประพฤติตนอยู่ในกรอบ จรรยาบรรณ มีความหนักแน่น มั่นคง มีความสำนึกทางสังคม และรับผิดชอบในวิชาชีพนักกฎหมาย
การจัดการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษา คิด ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยกฎหมายได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันหลักสูตรนี้จึงได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลทั้งโครงสร้างหลักสูตร เนื้อหาวิชา การเรียนการสอน และการวัดผล และยังเป็นหลักสูตรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาซึ่งมีความแตกต่างกันในเป้าหมายของการเรียนและการประกอบอาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วที่จะเลือกเป็นนักกฎหมายที่มีความชำนาญทางกฎหมายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งในสาขาวิชาที่คณะนิติศาสตร์เปิดสอนต่อไปนี้ 8 สาขาวิชา ได้แก่
หลักสูตรนี้แบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา คือ แผน ก. เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต และแผน ข. เป็นการศึกษาวิชากฎหมาย 33 หน่วยกิต และวิชาการศึกษาค้นคว้าอิสระ (Independent Research) 6 หน่วยกิต
การเข้าเรียนตามหลักสูตรนี้ ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียนวิชาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักกฎหมายอาญา หลักกฎหมายมหาชน หลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงพิจารณาผลการทดสอบคะแนนภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/IELTS) และการสอบสัมภาษณ์สำหรับผู้สอบผ่านข้อเขียน
นอกจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว คณะนิติศาสตร์ยังสนับสนุนให้นักศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตดูงานตามหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาผ่านทางประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในสายงานหรือภาคปฏิบัติ
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 คณะนิติศาสตร์ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ (ภาษาอังกฤษ) หรือที่เรียกว่า LL.B. Program in Business Law โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การสอนนิติศาสตร์ในระดับชาติไปสู่มาตรฐานสากล
คณะนิติศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมเพื่อผลิตนักกฎหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านวิชาชีพกับนักกฎหมายต่างชาติที่กำลังจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย และจำต้องผลิตนิติศาสตรบัณฑิตที่มีความสามารถเพื่อเข้าไปแข่งขันในตลาดแรงงานด้านกฎหมายในประเทศอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บัณฑิตเหล่านี้ควรมีความรู้ทั้งกฎหมายและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนจะเข้าไปแข่งขันในตลาดแรงงาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตให้สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าว
วัตถุประสงค์หนึ่งของหลักสูตรนี้คือการสร้างบัณฑิตให้สามารถรู้และใช้กฎหมายเป็นโดยมีจริยธรรม คุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานในวิชาชีพกฎหมายได้เป็นอย่างดี
การศึกษาเป็นแบบระบบทวิภาคคือ 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา และอาจเปิดภาคฤดูร้อน ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตรคืออ4 ปี
คณะนิติศาสตร์เปิดรับผู้สนใจเข้าศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ผู้สนใจสามารถสมัครเรียนผ่านทางเว็บไซต์ของคณะนิติศาสตร์หรือสมัครด้วยตนเอง และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://interprograms.law.tu.ac.th/ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/tuinterllb/?ti=as
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (ภาคภาษาอังกฤษ) (Master of Laws Program in Business Laws) (English Program) มีเป้าหมายเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์กฎหมายด้วยตนเอง มีความรู้และทักษะด้านกฎหมายธุรกิจและภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานและอยู่ในระดับสากลเพื่อการประกอบวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและภาครัฐ หลักสูตรนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายและประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษา และสามารถประกอบอาชีพได้ในขณะเดียวกัน เนื่องจากเป็นหลักสูตรการศึกษานอกเวลาราชการ
นอกจากนี้คณะนิติศาสตร์ยังมีความร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยไลเด้น ประเทศเนเธอร์แลนด์, มหาวิทยาลัยแรดบาวด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์, มหาวิทยาลัยเคโอะ ประเทศญี่ปุ่น
คณะนิติศาสตร์คัดเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร ประกอบด้วยผลการศึกษาในชั้นปริญญาตรี ผลการทดสอบคะแนนภาษาอังกฤษ (TU-GET/TOEFL/ELETS) และจดหมายแนะนำนักศึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาตรี และผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน หรืออาจร่วมด้วยการสอบสัมภาษณ์ จำนวนรับเข้าศึกษาปีละประมาณ 30 คน
หลักสูตรปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพทางนิติศาสตร์ อันเป็นการรองรับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ และสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ในเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถและมาตรฐานทางวิชาการ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและประชาคมอาเซียนที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการบริหารกระบวนการยุติธรรม เป็นการสร้างฐานในการผลักดันการพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศที่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น
คณะนิติศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2542 ครั้นถึงปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนมีเนื้อหาที่ทันสมัย และสามารถตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและความต้องการของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ภายในและภายนอกประเทศซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งได้รับรองให้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชนของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่เทียบเท่ากับหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ระดับกลาง ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการคัดเลือกเพื่อรับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ได้ และในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาและทบทวนความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง