จารุประภา รักพงษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
จารุประภา รักพงษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.
ข้อมูลส่วนตัว
ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ด้านกฎหมายจากสหราชอาณาจักรด้วยทุนรัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุประภา รักพงษ์ได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากการเป็นอาจารย์ประจำของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุประภา ดำรงตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการค้าระหว่างประเทศ (Senior Expert on International Trade) ให้กับโครงการ ASEAN’s Enhanced Regional Integration Support by the EU (ARISE) PLUS Project ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน นอกจากนั้นยังเป็นสมาชิกในกองบรรณาธิการวารสาร Asian Journal of International Law ของสำนักพิมพ์ Cambridge University Press
การศึกษา
- LL.B. (เกียรตินิยมอันดับ 1) King’s College University, London ประเทศสหราชอาณาจักร
- LL.M. (เกียรตินิยมอันดับ 2 ระดับบน) มหาวิทยาลัย Cambridge ประเทศสหราชอาณาจักร
- ปริญญาเอก กฎหมายการค้าแห่งสหภาพยุโรปและการค้าระหว่างประเทศ จาก University College, London มหาวิทยาลัย London ประเทศสหราชอาณาจักร
หัวข้อ
วิทยานิพนธ์
- Regulatory Aspects of EU-Thai Trade Relations in the Area of Food Safety (PhD, UCL)
ประสบการณ์
การทำงาน
- สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์
- สำนักงานกฎหมาย Allen & Overy (Thailand)
ความ
เชี่ยวชาญ
กฎหมาย WTO Law ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) ข้อตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าต่าง ๆ
สาขาที่สนใจ
กฎหมายเกี่ยวกับสหภาพยุโรป ASEAN และ the WTO มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี การตีความกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของรัฐ
ปัจจุบันกำลังศึกษาวิจัยในรูปแบบบูรณาการระหว่างสาขานิติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การค้าร่วมกับ ผศ. ดร. เณศรา สุขพานิช. ในหัวข้อ ความสอดคล้องของมาตรการคว่ำบาตรบริษัทอัญมณีจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของสหรัฐอเมริกาภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก: นัยต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยไปยังสหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนทุนการวิจัยจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตร
ที่สอน
- กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง
- กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- ปัญหากฎหมายสหภาพยุโรป
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลงาน
ทางวิชาการ
- วิเคราะห์โครงสร้างกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหารสำหรับส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย: ความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2556).
- กฎหมายแห่งองค์การการค้าโลก :การตีความและการวิเคราะห์บทบัญญัติสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2561).
- หลักการสำคัญว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีภายใต้กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป. กรุงเทพมหานคร : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2562).
- สิทธิ GSP คืออะไร ทำไมไทยถึงถูกตัดสิทธิ รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ GSP และวิธีปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. (2562). สืบค้นได้ที่ https://thestandard.co/gsp/
- ความสอดคล้องของมาตรการห้ามนําเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงของประเทศไทย ภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก สำนักพิมพ์เดือนตุลา. (2564) สืบค้นได้ที่ digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:176637
- With Yoshiko Naiki, “EU-Third Country Dialogue on IUU Fishing: The Transformation of Thailand’s Fishery Laws”, Transnational Environmental Law, (Cambridge University Press, 2022)