รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Doctor of Laws Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) น.ด.
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Doctor of Laws
ชื่อย่อ (อังกฤษ) LL.D.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาชีพทางนิติศาสตร์ อันเป็นการรองรับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ และสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ในเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ
- เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถและมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพทัดเทียมกับผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของต่างประเทศ
- เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขานิติศาสตร์เพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ใหม่และทันสมัย ตลอดจนเพื่อให้นำความรู้ดังกล่าวไปช่วยแก้ไขปัญหากฎหมายและพัฒนากฎหมายตลอดจนสังคมและประเทศชาติ
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
ระยะเวลาศึกษา
เป็นหลักสูตรแบบเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่างน้อย 4 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 10 ภาคการศึกษาปกติ
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 1.1 (ทำเฉพาะดุษฎีนิพนธ์)
1) วิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 4 หน่วยกิต
2) ดุษฎีนิพนธ์ (สามารถเลือกทำดุษฎีนิพนธ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ) 48 หน่วยกิต
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
นอกวัน-เวลาราชการ
เรียนวันเสาร์
ภาคการศึกษา 1 เดือนสิงหาคม-เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษา 2 เดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติดังนี้
- สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือจากมหาวิทยาลัยอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง
- มีความรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือภาษาอื่น ๆ ที่อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรเห็นสมควร ในระดับที่สามารถศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่เสนอจากตำราต่างประเทศด้วยตนเองได้
- ผู้สมัครจะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOELF หรือ IELTSอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่สอบผ่าน โดยคะแนนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัย
- ผู้สมัครต้องมีผลงานทางวิชาการที่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิตหรือมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่แล้ว และอาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรเห็นว่าเทียบเท่ากับวิทยานิพนธ์ระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
การสอบความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอ ผู้สมัครจะต้องเข้าสอบความรู้เกี่ยวกับข้อเสนอดุษฎีนิพนธ์ที่นำเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- ข้อเสนอ (proposal) ของดุษฎีนิพนธ์ โดยมีรายละเอียดที่กำหนดคือ
(1) มีการนำเสนอประเด็นปัญหาและข้อโต้แย้งตามหัวข้อดังกล่าว
(2) มีการนำเสนอสมมติฐานเบื้องต้นและแนวทางการแก้ปัญหาตามข้อ (1)
(3) มีการสำรวจและประเมินวรรณกรรมจากการศึกษาข้อเขียนทางวิชาการ
(4) บรรณานุกรม เอกสารอ้างอิงทุกชนิดที่ค้นคว้ามา
(5) มีเค้าโครง (out – line) ของหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่เสนอ
(6) มีแผนการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่ต้นจนจบการศึกษา
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ
สำหรับนักศึกษาไทย 350,000 บาท (ภาคการศึษาละประมาณ 85,000–95,000 บาท) สำหรับชาวต่างชาติ 500,000 บาท
คลิกที่นี่เพื่อดูคู่มือนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตซึ่งเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2563